เกาะกอฟเป็นหนึ่งในพื้นที่ไม่กี่แห่งที่อัลบาทรอสจมูกเหลืองแอตแลนติก ใช้เป็นแหล่งเพราะพันธุ์ มันเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์และอยู่ภายใต้การดูแลของนักวิจัยที่หมุนเวียนอย่างระมัดระวังตั้งแต่ปี 2008 โดยหลักฐานแรกของการโจมตีเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2017 เมื่อนักวิจัยพบว่า ซากของอัลบาทรอสโตเต็มวัย 19 ตัว
ในตอนแรกพวกเขาคิดว่าเป็นการเสียชีวิตที่อาจเกิดจากอุบัติเหตุเท่านั้น โดยมิเชล ริซี นักนิเวศวิทยาสัตว์ป่าจาก Royal Society for the Protection of Birds แห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า นกอัลบาทรอส ตกลงสู่พื้นเนื่องจากพายุลมแรง แต่เมื่อเธอและเพื่อนร่วมงานได้กลับมาที่เกาะแห่งนี้ในปี 2018 เห็นได้ชัดว่าการเสียชีวิตนี้ไม่ใช่ความบังเอิญ
“เรากลับมาในพื้นที่หลายครั้งเพื่อประเมินจำนวนซากของนกที่โตเต็มวัย และต้องตกใจมากที่พบซากใหม่ๆ หลายตัวในแต่ละสัปดาห์”
ทีมงานสงสัยว่าการเสียชีวิตนั้นเป็นผลมาจากหนูที่รุกราน เพราะพวกมันอาจหิวกระหายซะจนออกล่าอัลบาทรอส ในที่สุดเพื่อการไขปริศนานี้ ทีมงานได้กลับมาอีกครั้งในปี 2019
ทีมงานได้ตั้งค่ากล้องที่เปิดใช้งานเป็นภาพเคลื่อนไหว 16 ตัว ใกล้กับรังนกอัลบาทรอส พวกเขาตรวจสอบภาพที่มีความยาวมากกว่า 419 ชั่วโมง จนในที่สุดก็พบเห็นผู้กระทำผิดที่แท้จริง มันเป็น “นกนางแอ่นยักษ์ทางใต้ (Southern giant petrel)” เพศผู้ ซึ่งผสมพันธุ์อยู่บนเกาะกอฟเช่นกัน โดยจากตัวอย่างเมื่อเร็วๆ นี้พบการโจมตี 11 ครั้ง และมี 5 ครั้งที่จบด้วยการตายของนกอัลบาทรอส
“นกนางแอ่นยักษ์ทางใต้ (Southern giant petrel) เป็นนกขนาดใหญ่ที่โตได้ถึง 1 เมตร และมีปีกกว้างถึง 2 เมตร เป็นนกที่ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย และในด้านการอนุรักษ์ พวกมันอยู่ในสถานะกังวลน้อยที่สุด”
การได้เห็นนกนางแอ่นยักษ์ทางใต้โจมตีอัลบาทรอสในตอนกลางคืนเป็นเรื่องน่าตกใจมาก แม้ที่ผ่านพวกเราจะไม่พบการสังหารนกอัลบาทรอสโดยนกนางแอ่นยักษ์ทางใต้ แต่พวกมันก็เป็นนักล่าที่มีประสิทธิภาพ พวกมันกินของเน่า มีความกระตือรือร้นที่ครอบครองและกินซากสัตว์ริมทะเลอย่างมาก และยังเป็นนักฉวยโอกาส ปกติเหยื่อของพวกมันจะเป็น นกเพนกวินและแมวน้ำที่อายุน้อยหรือป่วย และลูกนกของนกหลายสายพันธุ์ “พวกมันเป็นนกนักล่า ฉลาดและโหดเหี้ยม”
ถึงอย่างนั้น จากการบันทึกของทีม Gough Island ก็สร้างความประหลาดใจให้กับ Carpenter-Kling “มันน่าตกใจ ฉันไม่เคยได้ยินว่านกนางแอ่นยักษ์จะไปโจมตีนกที่โตเต็มวัยเว้นแต่ว่าพวกมันจะได้รับบาดเจ็บอยู่ก่อนแล้ว”
ในตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าเหตุใด นกนางแอ่นยักษ์ทางใต้ที่อยู่บนเกาะกอฟจึงทำเรื่องเช่นนี้ ในทางทฤษฎีอาจเป็นเพราะพวกมันกำลังประสบปัญหาขาดแคลนอาหารจากมหาสมุทร แต่อาจเพราะนกนางแอ่นยักษ์ทางใต้ กำลังใช้ประโยชน์จากนกอัลบาทรอสที่อ่อนแอลงจากการรุกรานของหนูบนเกาะ
แต่ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด พฤติกรรมนี้ดูเหมือนจะเป็นการพัฒนาล่าสุดที่จำกัดอยู่เฉพาะที่เกาะกอฟ ฟิลลิปส์ตั้งข้อสังเกตว่าหากนกนางแอ่นยักษ์ทางใต้กำลังฆ่าอัลบาทรอสที่อื่นๆ ก็จะมีบันทึกซากศพที่ไซต์ตรวจสอบนกทะเลอื่นๆ ในมหาสมุทรใต้เช่นกัน และการตายของนกอัลบาทรอสมีความหมายที่น่าอึดอัดใจมาก สำหรับนกอัลบาทรอสจมูกเหลืองแอตแลนติกของเกาะกอฟ มันเป็นนกหายากที่ใกล้สูญพันธุ์
“หากพฤติกรรมนี้แพร่กระจายออกไป จนกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นในหมู่นกนางแอ่นยักษ์ มันอาจเป็นภัยคุกคามต่อประชากรนกอัลบาทรอสได้อย่างแน่นอน”